วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

KDE, GNOME, xfce, LXDE มันคืออะไรกันหนอ Linux

คอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง จะต้องมีระบบรับคำสั่งจากผู้ใช้งาน สำหรับระบบปฎิบัติการ
(Operatig System : OS) ของเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนบุคคล Personal Computer : PC
จะมีอยู่ 2 แบบใหญ่ๆ คือ

  • Command Line เป็นระบบรับคำสั่งจากบรรทัดคำสั่ง โดยผู้ใช้งานจะต้องพิมพ์คำสั่ง
    ลงไปเพื่อให้ Computer ทำงาน DOS เป็นรูปแบบของใช้คำสั่ง Command Line
    ที่เราคุ้นเคย
  • Graphic User Interface : GUI เป็นระบบรับคำสั่งผ่านทางหน้าจอด้วยภาพ เราคงจะ
    คุ้นเคยกับระบบ Windows เป็นอย่างดี นั้นเป็นรูปแบบการรับคำสั่งแบบ GUI ผู้ใช้งาน
    ไม่ต้องมาพิมพ์ คำสั่งเวลาต้องการ จะเปิด Folder, Copy, Move, Delete File ต่างๆ
    สามารถคลิก mouse ได้เลย
จากการที่ GUI ได้รับความนิยมระบบปฏิบัติการต่างๆ จึงพยายามสร้างรูปแบบ GUI ให้มีความ
น่าสนใจ เราเรียกรูปแบบต่างๆ ของ GUI เหล่านี้ว่า Desktop Environment (ไม่รู้จะแปลเป็นไทย
ให้เข้าใจง่ายๆ ยังไงดี อธิบายจากรูปก็แล้วกัน) 




apple desktop
หน้าจอแบบ Windows XP ที่คุ้นเคย จะมีแถบ Task bar อยู่ด้านล่างStar Menu อยู่ทางซ้ายมือ
Desktop Environment ของsnow leopard จาก Macintosh มีแถบคำสั่งอยู่ด้านบน Favorite Program อยู่ด้านล่าง

เพื่อให้เกิดเอกลักษณ์ ของตนเอง ในช่วงแรกของการพัฒนา Linux มีกลุ่มนักพัฒนา 2 กลุ่มได้เขียน
โปรแกรมสำหรับ Desktop Environment ขึ้นมา 2 ทางคู่ขนานกัน

แบบแรกเรียกว่า K Desktop Environment : KDE เป็นหน้าจอการทำงาน เลียนแบบ
Windows เพื่อให้ผู้ที่ใช้ Windows ที่หันมาใช้ Linux มีความรู้สึกคุ้นเคยกับการทำงานบน
Windows เหมือนเดิม KDE เคยประสบปัญหาจนหยุดการพัฒนาไปพักใหญ่ๆ จนทำให้ผู้ใช้
GNOME Desktop บน Linux แซงหน้าไปไกลมาก แต่ปัจจุบัน KDE กลับมาพัฒนาต่อ
แถมมีการแสดงผลที่สวยงามมากกว่า GNOME ในตอนนี้อีก

แบบที่สอง เรียกว่า GNOME Desktop (อ่านว่า โนม ไม่ใช่ จีโนม) เป็นหน้าจอการทำงาน
ที่เลียนแบบการทำงานของ MacIntosh เหตุผลเดียวกันคือ เพื่อให้ผู้ที่เคยใช้ Mac
หันมาใช้ Linux แล้วมีความรู้สึกคุ้นเคย…

ตอนเริ่มตอน Linux ที่แจกจ่ายกัน จะบรรจุ Desktop ทั้งสองชุดนี้ ไว้ในแผ่นติดตั้งเลย
เมื่อติดตั้ง Linux เสร็จแล้วผู้ใช้สามารถ เรียกได้ว่า จะเข้าใช้งาน Linux จาก Desktop ใหน

ต่อมาด้วย ขนาดที่ใหญ่ขึ้น ตามความสามารถในการแสดงผล ทำให้ชุดติดตั้ง Linux
ที่จะบรรจุ Desktop ทั้งสองไว้ด้วยกันมีขนาดใหญ่ขึ้นตาม เป็นการไม่สะดวกดังนั้น
ชุดติดตั้ง Linux ปัจจุบันจึงได้แยก KDE และ GNOME ออกจากกัน

ส่วน xfce เป็นรูปแบบ Desktop Enviroment อีกแบบนึงที่พัฒนาขึ้นมาภายหลัง
โดยจะเน้นที่ความเร็ว และการใช้ทรัพยากรที่น้อย เป็นหลัก xfce จึงเหมาะกับเครื่อง
คอมพิวเตอร์ สมัยเก่ามากกว่า

ที่เกิดมาล่าสุดคือ Lightweight X11 Desktop Enviroment : LXDE เป็นตัว Desktop
ที่เอาข้อดี ของ kde, gnome มาออกแบบใหม่ ทำให้ทำงานเร็วขึ้น ใช้พลังงานน้อยลง
แถมยังใช้กับเครื่องรุ่นใหม่ ได้ด้วย

1 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคุณมากครับ เข้าใจได้เยอะมากขึ้น
    ผมรุ่นน้องพี่ครับ แม่ฟ้าหลวง หุๆ

    ตอบลบ